วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 6 วันที่ 12/12/2556

พัฒนาการของเด็กพิเศษ

การเปลี่ยนแปลงหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาขึ้น
เด็กที่บกพร่องทางพัฒนาการ


- เด็กที่มีพัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
- พัฒนาการล่าช้าอาจพบในด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้านหรือทุกด้าน
- พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้


ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก

- ปัจจัยทางด้านชีววิทยา = พันธุกรรม, โครโมโซม
- ปัจจัยสภาพแวดล้อมก่อนคลอด = อาหารที่รับประทาน, การดูแลครรภ์
-ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด = ความสะพร่าวของหมอ
- ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด = นม, การดุแล


สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ

1. โรคทางพันธุกรรม เป็นตั้งแต่เกิด เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้าตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย  เช่น ผิวเผือก เท้าแสนปม

2. โรคของระบบประสาท

  •  เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วยที่  พบบ่อยคือ อาการชัก
3. การติดเชื้อ
  • การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศรีษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง เป็นต้อกระจก นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ
4. ความผิดปกติที่เกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
  • โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณะสุขไทย คือ ไทรรอยด์ฮอร์โมนในเลืดต่ำ
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
  • การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยและภาวะขาดออกซิเจน
6. สารเคมี 
  • ตะกั่วมีผลกระทบต่อตัวเด็ก และการศึกษามากที่สุด
  • มีอาการซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ
  • ภาวะตับเป็นพิษ
  • ระดับสติปัญญาต่ำ


ผลจากแอลกอฮอร์
  • น้ำหนักแรกเกิดน้อย
  • มีอัตราเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก
  • พัฒนาการทางสติปัญญามีความบกพร่อง
  • เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
ผลจากแอลกอฮอร์

Fetal alcohol syndrome, EAS
  • ช่องสายตาสั้น
  • ริมฝีปากบนเรียบ
  • ริมฝีปากบนยาวและบาง
  • หนังคลุมหัวตามาก
  • จมูกแบน
  • ปลายจมูกเชิดขึ้น



นิโครติน
  • น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
  • เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก
  • สติปัญญาบกพร่อง
  • สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาด้านการเข้าสังคม
นิโคติน
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการขาดสารอาหาร
        อาการของเด็กที่มีบกพร่องทางพัฒนาการ

  • มีพัฒนาการล่าช้าอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
  • ปฏิกิริยาสะท้อน (Primitive reflex) ไม่หายไป

แนวทางในการวินิจฉัยเด็กที่บกพร่องทางพัฒนาการ 

  • 1. การซักประวัติ
  • โรคประจำตัว
  • การเจ็บป่วยในครอบครัว
  • ประวัติฝากครรภ์
  • ประวัติเกี่ยวกับการคลอด
  • พัฒนาการที่ผ่านมา 
  • การเล่นตามวัย การช่วยเหลือตนเอง
  • ปัญหาพฤติกรรม
  • ประวัติอื่นๆ 

เมื่อซักประวัติแล้วจะสามารถบอกได้ว่า
  • ลักษณะพัฒนาการล่าช้าเป็นแบบคงที่ หรือถดถอย
  • เด็กมีระดับพัฒนาการช้าหรือไม่ อย่างไรอยู่ในระดับไหน
  • มีข้อบ่งชี้ว่ามีสาเหตุมาจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
  • สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดอะไร
  • ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร
          2. การตรวจร่างกาย
  • ตรวจร่างกายทั่วไปและการเจริญเติบโต
  • ภาวะตับม้ามโต
  • ผิวหนัง
  • ระบบประสาทและวัดรอบศีรษะด้วยเสมอ
  • ดูลักษณะของเด็กที่ทารุณกรรม
  • ระบบการมองเห็นและการได้ยิน
         3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัตการ
         4. ประเมินพัฒนาการ
  • การประเมินแบบไม่เป็นทางการ (การสอบถามจากพ่อแม่)
การประเมินที่ใช้ในชีวิตประวัติ
  • แบบทดสอบ Denver ll
  • Gesell Drawing Test 
  • แบบประเมินพัฒนาการถามเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี สถาบันราชานุกูล
แนวทางในการดูแลรักษา
  1.  หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
  2. การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
  3. การรักษาสาเหตุโดยตรง
  4. การส่งเสริมพัฒนาการ
  5. ให้คำปรึกษากับครอบครัว
ขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  1.  การตรวจคัดกรองพัฒนาการ
  2. การตรวจประเมินพัฒนาการ
  3. การให้การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
  4. การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
  5. การติดตาม และประเมินผลการรักษาเป็นระย


สะท้อนการเรียนรู้
                จากการเรียนในสัปดาห์ ทำให้เราได้เข้าใจถึงพัฒนาการต่างๆของเด็กพิเศษ  ว่าเค้ามีพัฒนาการในลักษณะใด เกิดจากปัจจัย หรือมีสาเหตุอะไรบ้าง รวมถึงผลเสียต่างๆ ที่ได้รับจากมารดา และส่งผลไปยังลูก ในขณะตั้งครรถ์ เด็กพิเศษ อาการของเด็กพิเศษเกิดขึ้นได้ไม่ว่า จะก่อน หลัง หรือ ระหว่างตั้งครรถ์  และทำให้เราได้เข้าใจถึงแนวทางในการปฎิบัติ แนวทางการดูแล เราควรที่จะดูแลเด็กพิเศษเหล่านี้อย่างไร เพื่อที่จะให้เค้ามีพัฒนาการที่ดีขึ้น และใกล้เคียงกับเด็กปกติมากที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 5 วันที่ 05/12/2556


ไม่มีการเรียนการสอน 
เนื่องจากเป็นวันหยุดราชการ วันพ่อแห่งชาติ




UploadImage

ประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวันพ่อแห่งชาติ


วันพ่อแห่งชาติ 

         ใกล้จะถึงวันพ่อ แห่งชาติ 5 ธันวาคมนี้แล้วนะคะ หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักวันพ่อแห่งชาติดีเท่าที่ควร วันนี้ศูนย์ข่าวการศึกษาไทยจึงอยากให้ทุกคนได้รู้จักวันพ่อแห่งชาติลึกซึ้ง มากขึ้นค่ะ

          จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 587) พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน ในทางพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า “พ่อ” หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น บิดา (พ่อ) ชนก (ผู้ให้กำเนิด) สามี (ของแม่) เป็นต้น
 


UploadImage

         วัน พ่อแห่งชาติ  5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือ เป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย

         วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือวันพ่อแห่งชาติ มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์เป็นผู้ถวายการประสูติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการจำเนียรกาล ผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราช พิธีพระบรมราชาภิเษกทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่ พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” อันคำว่าโดย “ธรรม” นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า “ราชธรรม 10 ประการ”

         ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฏิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ ห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณ อย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น “พ่อ” ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้


กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันพ่อแห่งชาตินี้

1. ในวันพ่อแห่งชาติเราควรประดับธงชาติไทยที่อาคารบ้านเรือน

2. จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล

3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล




UploadImage


วันพ่อแห่งชาติเกิดขึ้นได้อย่างไร

      วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มหลักการและเหตุผลในการ จัดตั้งวันพ่อแห่งชาติ พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่ สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระ มหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และให้ดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ วันพ่อแห่งชาติ

         ด้วยพ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณ มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพ เทิดทูน และตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อนี่เป็นที่มาของการจัด ให้มี วันพ่อแห่งชาติ
วัตถุประสงค์ของวันพ่อแห่งชาติ 4 ประการ คือ

1.       เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

2.       เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม

3.       เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ

4.       เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน
 



ดอกไม้ประจำวันพ่อแห่งชาติ


UploadImage

         ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ “พุทธรักษา” ซึ่งหมายถึง พระ พุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครอง ให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ซึ่งมีเรียกกันมากว่า 200 ปี และสีเหลืองอันเป็นสีประจำวัน พระราชสมภพขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของปวงชนชาวไทย การมอบดอกพุทธรักษาให้กับพ่อ จึงเสมือนกับการบอกถึง ความรักและเคารพบูชาพ่อ ผู้สร้างความสงบสุขร่มเย็นให้แก่ครอบครัว
 
     คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายเกิดแก่บ้านและผู้อาศัย
 


UploadImage

บทบาทของพ่อ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรุปบทบาทหน้าที่ของพ่อและแม่ไว้ 5 ข้อ

 1.       กันลูกออกจากความชั่ว

 2.       ปลูกฝังลูกไว้ในทางที่ดี

 3.       ให้ลูกได้รับการศึกษาเล่าเรียน

 4.       ให้ลูกได้แต่งงานกับคนดี

 5.       มอบทรัพย์มรดกให้เมื่อถึงการณ์อันควร


         หลังจากที่ได้รู้ความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ศูนย์ข่าวการศึกษาไทยมีเพลงเพลงนึงที่มีความหมายดีๆ เกี่ยวกับพ่อหลวงของเรามาฝากค่ะ ชื่อเพลงรูปที่มีทุกบ้าน เป็น เพลงเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ประพันธ์คำร้องโดย นิติพงษ์ ห่อนาค ทำนองโดย อภิไชย เย็นพูนสุข เรียบเรียงเสียงประสานโดย วีรภัทร์ อึ้งอัมพร และขับร้องโดย ธงไชย แมคอินไตย์
 


         ฟังเพลงจบแล้ว ศูนย์ข่าวการศึกษาไทยหวังว่าทุกคนจะไม่ลืมเป็นลูกที่ดีของพ่อ-แม่ และพ่อหลวงของแผ่นดินด้วยนะคะ
  

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 4 วันที่ 28/11/2556



เนื้อหาการเรียนการสอน


6. เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม และ อารมณ์

           - ควบคุมอารมณ์นานๆ ไม่ได้
           - ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างไม่ได้
           - ไม่สามารถอยู่ร่วมกัผู้อื่นได้

                     แบ่งได้ 2 ประเภท
            6.1 เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์
           6.2 เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้

 ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
      - ไม่สามารถเรียนได้ปกติ
      - รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนเเละครูไม่ได้
      - มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
      - มีความคับข้องใจเเละเก็บกดอารมณ์
      - แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย
      - มีความหวาดกลัว


เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก

         -  เด็กสมาธิสั้น  หรือ เด็ก ADHD เด็กซุกซนไม่อยู่นิ่ง ซนมากผิดปกติ เคลื่อนไหวอยู่ตลอด เด็กบางคนมีปัญหาเรื่องสมาธิบกพร่อง อาการหุนหันพลันเเล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ เด็กพวกนี้เรียกว่า Attention Deficit Disorders หรือ ADD

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมเเละอารมณ์

             - อุจจาระ ปัสสาวะรดที่นอน
            - ติดขวดนม ตุ๊กตา ดูดนิ้ว กัดเล็บ
            - หงอยเหงา เศร้าซึม หนีสังคม
            - เรียกร้องความสนใจ
            - อารมณ์หวั่นไหวต่อสิ่งเร้า
            - ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
            - ฝันกลางวัน
            - พูดเพ้อเจ้อ




7. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

      - เรียกย่อๆว่า LD ( Learning Disability)
      - มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
      - มีปัญหาทางการพูด การเขียน
      - ไม่รวมกับเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด้กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการหรือความบกพร่องทางร่างกาย

ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

      - มีปัญหาทางคณิตศาสตร์
     - ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
     - เล่าเรื่องลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
     - มีปัญหาทางด้านการอ่าน การเขียน
     - ซุ่มซ่าม
     - รับลูกบอลไม่ได้
     - ติดกระดุมไม่ได้
     - เอาเเต่ใจ




8. เด็กออทิสติก  หรือ ออทิซึม

        - เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนเเรงในการสื่่อความหมาย พฤติกรรมทางสังคมเเละความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
       - เด็กเเต่ละคนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
       - ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
       - ทักษะทางภาษาต่ำ
       - ทักษะทางสังคมต่ำ
       - ทักษะการเคลื่อนไหวต่ำ
       - ทักษะทางรูปทรง ขนาดต่ำ

ลักษณะของเด็กออทิสติก
     - อยู่ในโลกของตนเอง
     - ไม่เข้าไปหาใคร ไม่ต้องการให้ใครมาปลอบใจ
     - ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
     - ไม่ยอมพูด
     - เคลื่อนไหวเเบบช้าๆ
     - ยึดติดวัตถุ
     - ต่อต้านหรือเเสดงกิริยาอารมณ์รุนเเรงไร้เหตุผล
     - มีท่าทางเหมือนคนหูหนวก
     - ใช้วิธีการสัมผัสเเละเรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยวิธีการที่เเตกต่างไปจากคนอื่นทั่วไป





9. เด็กพิการซ้อน

     - บกพร่อง 2 อย่างขึ้นไป เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องการเรียนรู้อย่างมาก
     - เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
     - เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
    - เด็กหูหนวกตาบอด



  จากการเรียนการสอนวันนี้  อาจารย์ได้เปิด รายการโทรทัศน์ครู ในเรื่อง ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ ให้เราดู แล้วสรุปสั้นๆ ส่งอาจารย์ 




สะท้อนการเรียนรู้

   จากที่ได้เรียน 3 สัปดาห์ และเด็กที่มีความบกพร่อง ทั้งหมด 10 ประเภท รวมถึง เด็กปัญญาเลิศ ทำให้เราเข้าใจถึงความบกพร่องของเด็ก ลักษณะต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น ว่าความบกพร่องทางด้านนี้เด็ก จะแสดงพฤติกรรมออกแบบไหน แล้วเราควรที่จะรับมือเด็กอย่างไร เด็กที่มีความบกพร่องแต่ละประเภท อาจารย์ผู้สอนได้ยกตัวอย่าง ลักษณะ จากชีวิตและประสบการณ์จากอาจารย์เอง มาเล่าสู่กันฟัง ทำให้เราได้รู้ว่า เด็กที่มีความบกพร่อง จะรับมือ ยากกว่าเด็กปกติ เด็กที่มีความบกพร่องทุกประเภท มีความน่ากลัวอยู่ในตัว เพราะ บางประเภทยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย หรือ มีพฤติกรรม ที่รุนแรง ก้าวร้าว เราต้องเตรียมความพร้อม ศึกษาข้อมูลจากเด็กเหล่านี้ ให้ได้มากที่สุด จะทำให้เรารับมือเด็กได้และ ได้ช่วยเหลือเด็ก ให้มีความเป็นปกติมากที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 3 วันที่ 21/11/2556



เนื้อหาการเรียนการสอน


4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และ สุขภาพ




            - อวัยวะไม่สมส่วน
            - อวัยวะส่วนหนึ่งหายไป
            - มีปัญหาทางระบบประสาท
            - มีความลำบากในการเคลื่อนไหว 


จำแนกเป็น 2 ประเภท
            4.1 อาการบกพร่องทางร่างกาย
 
                   4.1.1  Cerebral Palsy CP เป็นอัมพาตเนื่องจากสมองพิการหรือเป็นผลมาจากที่สมองกำลังพัฒนาอยู่ถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่าง หรือหลังคลอด

                  4.1.2  กล้ามเนื้ออ่อนเเรง Muscular pistrophy
                       - เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุม กล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ เสื่อมสลาย
                       - เดิน นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
                       -  มีความพิการซ้อนระยะหลัง คือ ความจำเเย่ลง สติปัญญาเสื่อม

                 4.1.3 โรคทางระบบกล้ามเนื้อ
                      - ระบบกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก กระดูกสะโพกเคลื่อน
                      - ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ
                      - กระดูกหัก  ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ 


                 4.1.4  โปลิโอ Poliomyelitis
                     -  กล้ามเนื้อลีบ เล็กไมีมีผลกระทบต่อสติปัญญา มาจากการกินอาหารกินน้ำไม่ล้าง                           มือ
                     - เดินไม่ได้ อาจเดินได้หากมีอุปกรณ์ช่วยเดิน

                4.1.5 เเขนขาด้วนเเต่กำเนิด Limb Deficiency
                4.1.6 โรคกระดูกอ่อน Osteogenesis Imperfeta



         4.2 ความบกพร่องทางสุขภาพ

              4.2.1  โรคลมชัก Epilwpsy
                     เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง

            - ลมบ้าหมู Grandmal  เกิดอาการซักจะทำให้หมดสติ เเละหมดความรู้สึกในขณะชัก                       กล้ามเนื้อเกร็งหรือเเขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
           - การชักในช่วงเวลาสั้นๆ Petitmal เป็นอาการชักระยะสั้นๆ5-10 นาที เด็กจะนั่งเขย่าตัว                  หรือตัวสั่นเล็กน้อย
           -  การชักแบบรุนเเรง เกิดอาการชักเด็กจะเสียงดัง หมดความรู้สึก ล้มลง เกิดขึ้นราว 
             2-5  นาที จากนั้นก็จะหายเเละนอยหลับไปชั่วครู่
           - อาการชักแบบ Partial Compex   เกิดอาการเป็นระยะ กัดริมฝีปากไม่รู้สึกตัว เดินไปมา                  บางคนอาจเกิดความโกรธหรือโมโห หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้และ                         ต้องการนอนพัก
          - อาการชักไม่รู้ตัว เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้ตัว เช่น ร้องเพลงเสียงดัง ดึง                เสื้อผ้า เดินเหม่อลอย เเต่ไม่มีอาการชัก
          - โรคต่างๆที่เกิดขึ้น ระบบทางเดินหายใจ เบาหวาน อักเสบรูมาตอย ศีรษะโต หัวใจ มะเร็ง               เลือดไหลไม่หยุด



5. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดเเละภาษา



             เด็กกลุ่มนี้พูดไม่ชัด ออกเสียงผิดเพี้ยน อวัยวะที่ออกเสียงไม่เป็นไปตามลำดับขั้น การใช้อวัยวะในการพูดไม่เป็นไปตามตั้งใจ มีอากัปกิริยาที่ผิดปกติขณะพูด
            5.1. ความผิดปกติด้านการออกเสียง
                    5.1.1 ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม
                    5.1.2 เพิ่มหน่วยเสียงในคำโดยไม่จำเป็น
                    5.1.3 เอาเสียงหนึ่งแทนเสียงหนึ่่ง 

          5.2  ผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น พูดรัว พูดติดอ่าง
          5.3  ผิดปกติด้านเสียง ระดับเสียง ความดัน คุณภาพ
          5.4 ความผิดปกติทางการพูดเเละภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง
               5.4.1 Motor Aphasia 
                เข้าใจคำถามหรือคำสั่งเเต่พูดไม่ได้ออกเสียงลำบาก พูดช้า พูดไม่ถูกไวยากรณ์

              5.4.2 Wernioke's Aphasia 
              ไม่เข้าใจคำถามได้ยินเเต่ไม่เข้าใจ ออกเสียงไม่ติดขัด แต่มักใช้คำผิดๆหรือใช้คำอื่นที่ไม่มีความหมายมาแทน

             5.4.3 Conduction Aphasia 
เด็กที่ออกเสียงได้ไม่ติดขัด เข้าใจคำถามดีแต่พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของ มักเกิดร่วมไปกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา

            5.4.4 Nominal Aphasia 
เด็กที่ออกเสียงได้ เข้าใจคำถามก็พูดตามได้ แต่บอกชื่อวัตถุไม่ได้

           5.4.5 Global Aphasia
ไม่เข้าใจทุกภาษา พูดไม่ได้เลย 

           5.4.6 Sensory Agraphia 
 เขียนเองไม่ได้ เขียนตอบคำถามหรือเขียนชื่อวัตถุก็ไม่ได้ มักเกิดร่วมกับ Gerstmann's syndrome

           5.4.7 Motor Agraphia 
เด็กที่ลอกตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ไม่ได้ เขียนตามคำบอกไม่ได้

          5.4.8 Cortical Alexia 
อ่านไม่ออกเพราะไม่เข้าใจภาษา

        5.4.9 Motor Alexia 
เด็กที่เห็นตัวเขียน ตัวพิมพ์ เข้าใจความหมายเเต่อ่านไม่ได้

       5.4.10 Gerstmann's Syndrome 
ไม่รู้ซื่อนิ้ว ไม่รู้ซ้าย ขวา คำนวณไม่ได้ เขียนไม่ได้ อ่านไม่ออก(หนักมาก)

      5.4.11 Visual Agnosia 
เด็กที่มองเห็นวัตถุเเต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วไม่ได้

     5.4.12 Auditory Agnosia 
 เด็กที่ไม่มีปัญหาทางการได้ยินเเต่แปลความหมายของคำเเละประโยชน์ไม่ได้ยิน


สะท้อนการเรียนรู้
     
          จากการเรียนในสัปดาห์นี้ ทำให้เราได้รู้ประเภทของเด็กที่ความต้องพิเศษมากขึ้น อีก 2 ประเภท จากทั้งหมด 10 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภท มีรายละเอียดของเด็กค่อนข้างเยอะ ทำให้เราได้เรียนรู้ลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก เหล่านี้มากขึ้นๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 
          การเรียนในวันนี้ หลังจากเนื้อหาจากการเรียนการสอนแล้ว อาจารย์ได้เปิด วีดีโอ กับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษให้ดู ทำให้เราได้รู้ว่า ถึงแม้ว่าบุคคล บุคคลนั้นจะมีทุกอย่างไม่เหมือนเรา แต่เค้าก็สามารถมีชีวิตอยู่ และทำทุกวันได้ปกติ เหมือนคนทั่วไป ทำให้เราได้คิดได้มองในหลายๆแง่ ว่าคนเราเลือกเกิดมาที่จะเป็นไม่ได้ แต่เราสามารถเลือกที่จะเป็นได้ เพียงแต่อย่ายอมแพ้ และเราในฐานะบุคคลที่มีทุกอย่างปกติ ควรช่วยเหลือบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ ให้โอกาศ และ กำลัง สำหรับพวกเค้า ได้ต่อสู้ไปด้วยกันกับพวกเรา ช่วยเหลือได้เท่าที่เรามีความสามารถ 
         อนาคตความเป็นครู เมื่อพบเจอเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เราก็ควรช่วยเหลือ ส่งเสริม พวกเค้าให้เต็มที่  คืนเด็กพิเศษให้กลับไปสู่สภาวะปกติให้ได้มากที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 2 วันที่ 14/11/2556


อาจารย์ได้พูดถึงเกณฑ์คะแนนสำหรับรายวิชา มีดังนี้

                                                      จิตพิสัย                                     10 คะแนน
                                                      งานเดี่ยว (วิจัย)                        10 คะเเนน
                                                      งานกลุ่ม (นำเสนอ)                  20 คะแนน
                                                      บันทึกอนุทินลง Blogger         20 คะแนน
                                                       โทรทัศน์ครู                             10 คะแนน
                                                       สอบกลางภาค                        15 คะแนน
                                                       สอบปลายภาค                       15 คะแนน

และหลังจากนั่นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม โดยมีหัวข้อเรื่องในการทำรายงาน  ดังนี้

                                                              1. เด็ก ซี.พี
                                                              2. เด็กดาวน์ซินโดรม
                                                              3. เด็กออทิสติก
                                                              4. เด็กสมาธิสั้น
                                                              5. เด็กแอลดี 


เนื้อหาการเรียนการสอน








  ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ Children with special needs

        1. ทางการแพทย์   มักเรียนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ว่า "เด็กพิการ" 
หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ

       2. ทางการศึกษา  ให้ความหมาย ว่า "เด็กที่ต้องการเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติ ทางด้านเนื้อหาหลักสูตร กระบวนการที่ใช้  และ  การประเมินผล"

    สรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง

-  เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตาม      ปกติ
-  มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และ อารมณ์
-  จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัด และฟื้นฟู
-  จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะ  และ  ความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล


   ประเภทของเด็กพิเศษ มี 10 ประเภท แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 2 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง

มีความเป็นเลิศทางสติปํญญา เรียกโดยทั่วๆไปว่า "เด็กสติปัญญาเลิศ"
มีไอคิว  120 ขึ้นไป

2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
        กระทรวงศึกษาธิการ ได้เเบ่งออกเป็น 9 ประเภท
              1. เด็กบกพร่องทางสติปัญญา
              2. เด็กบกพร่องทางการได้ยิน
              3. เด็กบกพร่องทางการเห็น
              4. เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
              5. เด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
             6. เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
             7. เด็กที่มีปํญหาทางการเรียนรู้
             8. เด็กออทิสติก
             9. เด็กพิการซ้อน

มีรายละเอียดดังนี้ 

   


1.  เด็กบกพร่องทางสติปัญญา  หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปํญญาหรือเชาว์ปํญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม  คือ 
     1.1 เด็กเรียนช้า มีสาเหตุ 2 ประการ  คือ 
             1.1.1 สาเหตุภายนอก จากสภาพเศรษฐกิจของครอบครัว
             1.1.2 สาเหตุภายใน  จากพัฒนาการ หรือความเจ็บป่วย

    1. 2 เด็กปัญญาอ่อน แบ่งตามระดับไอคิว 4 ระดับ คือ
            1.2.1 เด็กปัญญาอ่อนหนักมาก       IQ  ต่ำกว่า 20
            1.2.2 เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก    IQ  20 - 34
            1.2.3 เด็กปัญญาอ่อนปานกลาง     IQ  35 - 49
            1.2.4 เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย    IQ 50 - 70



 2. เด็กบกพร่องทางการได้ยิน




หมายถึง สูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆ ได้ไม่ชัดเจน 
มี 2 ประเภท คือ 
        2.1  หูตึง  เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้โดยใช้เครื่องช่วยฟัง
        2.2  หูหนวก  เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดหมดโอกาศที่จะเข้าใจภาษาพูด


 3. เด็กบกพร่องทางการเห็น




- เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนลาง
- มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
- สามารถเห็นได้ไมาถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
- มีลานสายตากว้งไม่เกิน 30 องศา
            แบ่งได้ 2 ประเภท เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท

  


สะท้อนการเรียน  

           จากการเรียนในสัปดาห์นี้ ทำให้เราได้รู้ถึง ความหมายของคำว่า เด็กพิเศษ ว่าแท้จริงแล้ว เด็กพิเศษเป็นอย่างไร มีความหมายและที่มาอย่างไรบ้าง ได้ทราบเจาะลึกถึงเด็กพิเศษ ว่ามีทั้งหมดกี่ประเภท แล้วการแบ่งประเภทของเด็ก มีเกณฑ์ในการจัดกลุ่มอย่างไร ได้ทราบถึง แต่เด็กพิเศษที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ ว่าเด็กที่ความบกพร่องแต่ละด้าน มีพฤติกรรม อาการ และลักษณะอย่างไร ที่เด่นชัด หรือต่างไปจากเด็กทั้วไป มากแค่ไหน และสามารถ ศึกษา เพื่อเก็บเป็นประสบการณ์ นำไปปรับใช้ในอนาคตของความเป็นครู เมื่อเราได้เจอเด็กเหล่านี้ เราควรจะสังเกตุเด็ก และ ควรเข้าใจในตัวเด็กว่า พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมานั่น บางครั้งเกิดจากความบกพร่องจากตัวเด็ก เรามีวิธีการรับมืออย่างไร หรือจะช่วยเหลือเด็กเหล่านี้แบบไหน ซึ่งเด็กพิเศษ มีทั้งหมด 10 ประเภท แต่ในวันนี้ได้เรียนไป 3 ประเภท เราก็จะศึกษาลักษณะความบกพร่องของเด็ก ต่อไปเรื่อยๆ จนครบทั้งหมด 

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 1 วันที่ 07/11/2556


สัปดาห์แรก ของการเรียนการสอน อาจารย์พูดเรื่องข้อตกลงในการเรียนในรายวิชานี้ แจกแนวการสอน  การมอบหมายงาน และเกณฑ์คะแนนต่างๆ 

และอาจารย์ได้ให้ทำ mild map ของวิชานี้ ว่า ถ้าพูดถึงคำว่า เด็กพิเศษ เราจะมีความเข้าใจว่าอย่างไรบ้าง



สะท้อนการเรียนรู้
            สิ่งที่ได้รับจากสัปดาห์นี้ ถือเป็นสัปดาห์แรกของการเรียนการสอน ซึ่งเราเองยังไม่มีเข้าเข้าใจมากพอ ในเรื่องเด็กพิเศษ อาจารย์ก็ได้ให้เข้า เขียนตามเข้าใจของเรา และอาจารย์ก็ได้ออกมาพูดภาพรวม ย่อๆ เกี่ยวกับพิเศษว่าต้องมีลักษณะแบบนี้ จึงทำให้เราเข้าใจ คำว่าเด็กพิเศษมากขึ้น