วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 2 วันที่ 14/11/2556


อาจารย์ได้พูดถึงเกณฑ์คะแนนสำหรับรายวิชา มีดังนี้

                                                      จิตพิสัย                                     10 คะแนน
                                                      งานเดี่ยว (วิจัย)                        10 คะเเนน
                                                      งานกลุ่ม (นำเสนอ)                  20 คะแนน
                                                      บันทึกอนุทินลง Blogger         20 คะแนน
                                                       โทรทัศน์ครู                             10 คะแนน
                                                       สอบกลางภาค                        15 คะแนน
                                                       สอบปลายภาค                       15 คะแนน

และหลังจากนั่นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม โดยมีหัวข้อเรื่องในการทำรายงาน  ดังนี้

                                                              1. เด็ก ซี.พี
                                                              2. เด็กดาวน์ซินโดรม
                                                              3. เด็กออทิสติก
                                                              4. เด็กสมาธิสั้น
                                                              5. เด็กแอลดี 


เนื้อหาการเรียนการสอน








  ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ Children with special needs

        1. ทางการแพทย์   มักเรียนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ว่า "เด็กพิการ" 
หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ

       2. ทางการศึกษา  ให้ความหมาย ว่า "เด็กที่ต้องการเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติ ทางด้านเนื้อหาหลักสูตร กระบวนการที่ใช้  และ  การประเมินผล"

    สรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง

-  เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตาม      ปกติ
-  มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และ อารมณ์
-  จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัด และฟื้นฟู
-  จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะ  และ  ความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล


   ประเภทของเด็กพิเศษ มี 10 ประเภท แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 2 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง

มีความเป็นเลิศทางสติปํญญา เรียกโดยทั่วๆไปว่า "เด็กสติปัญญาเลิศ"
มีไอคิว  120 ขึ้นไป

2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
        กระทรวงศึกษาธิการ ได้เเบ่งออกเป็น 9 ประเภท
              1. เด็กบกพร่องทางสติปัญญา
              2. เด็กบกพร่องทางการได้ยิน
              3. เด็กบกพร่องทางการเห็น
              4. เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
              5. เด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
             6. เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
             7. เด็กที่มีปํญหาทางการเรียนรู้
             8. เด็กออทิสติก
             9. เด็กพิการซ้อน

มีรายละเอียดดังนี้ 

   


1.  เด็กบกพร่องทางสติปัญญา  หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปํญญาหรือเชาว์ปํญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม  คือ 
     1.1 เด็กเรียนช้า มีสาเหตุ 2 ประการ  คือ 
             1.1.1 สาเหตุภายนอก จากสภาพเศรษฐกิจของครอบครัว
             1.1.2 สาเหตุภายใน  จากพัฒนาการ หรือความเจ็บป่วย

    1. 2 เด็กปัญญาอ่อน แบ่งตามระดับไอคิว 4 ระดับ คือ
            1.2.1 เด็กปัญญาอ่อนหนักมาก       IQ  ต่ำกว่า 20
            1.2.2 เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก    IQ  20 - 34
            1.2.3 เด็กปัญญาอ่อนปานกลาง     IQ  35 - 49
            1.2.4 เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย    IQ 50 - 70



 2. เด็กบกพร่องทางการได้ยิน




หมายถึง สูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆ ได้ไม่ชัดเจน 
มี 2 ประเภท คือ 
        2.1  หูตึง  เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้โดยใช้เครื่องช่วยฟัง
        2.2  หูหนวก  เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดหมดโอกาศที่จะเข้าใจภาษาพูด


 3. เด็กบกพร่องทางการเห็น




- เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนลาง
- มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
- สามารถเห็นได้ไมาถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
- มีลานสายตากว้งไม่เกิน 30 องศา
            แบ่งได้ 2 ประเภท เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท

  


สะท้อนการเรียน  

           จากการเรียนในสัปดาห์นี้ ทำให้เราได้รู้ถึง ความหมายของคำว่า เด็กพิเศษ ว่าแท้จริงแล้ว เด็กพิเศษเป็นอย่างไร มีความหมายและที่มาอย่างไรบ้าง ได้ทราบเจาะลึกถึงเด็กพิเศษ ว่ามีทั้งหมดกี่ประเภท แล้วการแบ่งประเภทของเด็ก มีเกณฑ์ในการจัดกลุ่มอย่างไร ได้ทราบถึง แต่เด็กพิเศษที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ ว่าเด็กที่ความบกพร่องแต่ละด้าน มีพฤติกรรม อาการ และลักษณะอย่างไร ที่เด่นชัด หรือต่างไปจากเด็กทั้วไป มากแค่ไหน และสามารถ ศึกษา เพื่อเก็บเป็นประสบการณ์ นำไปปรับใช้ในอนาคตของความเป็นครู เมื่อเราได้เจอเด็กเหล่านี้ เราควรจะสังเกตุเด็ก และ ควรเข้าใจในตัวเด็กว่า พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมานั่น บางครั้งเกิดจากความบกพร่องจากตัวเด็ก เรามีวิธีการรับมืออย่างไร หรือจะช่วยเหลือเด็กเหล่านี้แบบไหน ซึ่งเด็กพิเศษ มีทั้งหมด 10 ประเภท แต่ในวันนี้ได้เรียนไป 3 ประเภท เราก็จะศึกษาลักษณะความบกพร่องของเด็ก ต่อไปเรื่อยๆ จนครบทั้งหมด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น