วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 15 วันที่ 13/02/2557


เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ (LD) 

การดูแลให้ความช่วยเหลือ
  • สร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้เกิดกับเด็ก
  • มองหาจุดดี จุดแข็งของเด็ก และให้คำชมอยู่เสมอ
  • ให้แรงเสริมทางบวก
  • รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
  • งานแผนการจัดนำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
  • สังเกตติดตามความสามารถ และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
  • IEP
การรักษาด้วยยา
  • Ritalin  กระตุ้นสมาธิ เผยแพร่ในประเทศไทย
  • Dexedrine 
  • Cylert 

หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ
  • สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สคส)
  • โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ (Early Intervention)
  • โรงเรียนเฉพาะความพิการ
  • สถาบันราชานุกูล

         องค์ความรู้ที่ได้จากการดู เรื่อง เรียนอย่างไร ใช้ศูนย์การศึกษาพิเศษ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กพิเศษ ของ  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 

 
สะท้อนการเรียนรู้
          จากการเรียนในสัปดาห์นี้ทำให้เราได้รู้เกี่ยวกับการดูแลช่วยเหลือเด็กพิเศษ ว่าเราควรที่่จะทำอย่างไร การรักษาอาการของเด็กพิเศษ โดยการใช้ยา ชนิดต่างๆ รวมถึง หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ ทำให้เราได้รู้ ได้เป็นแนวทาง เพื่ออนาคตการเป็นครูของเรา บางครั้งเราเลือกที่จะเจอเด็กไม่ได้ เราจึงต้องปรับตัวให้เข้ากับเด็กได้ทุกประเภท  ทุกสถานการณ์ เราไม่มีสิทธิที่จะเลือกสอนเด็ก แต่เราควรที่จะสอนเด็กให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นไปเรื่อยๆ


วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 14 วันที่ 06/02/2557


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ



สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม


หัวใจของครูที่สอนเด็กที่มีความสามารถพิเศษ

เรื่อง... อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์

                    ผู้เขียนได้อ่านบทความชิ้นหนึ่งที่เขียนโดยครูของเด็กที่มีความสามารถพิเศษใน อเมริกา คนหนึ่งเล่าถึงวีรกรรมการสอน ประสบการณ์ที่มีทั้งขมขื่น เหน็ดเหนื่อย แปลกแยกจากครูทั่วไป จากเพื่อนร่วมงาน รวมถึงความรู้สึกว่าไม่ได้รับการสนับสนุนหรือความเข้าใจจากเพื่อนร่วมงานรวม ถึงความรู้สึกว่าไม่ได้รับการสนับสนุนหรือความเข้าใจจากเพื่อนร่วมงาน แต่ในขณะเดียวกันก็มีความสุขสดชื่น ความรู้สึกมีคุณค่าที่ได้รับจากนักเรียน นี่ไม่ใช่ข้อมูลครั้งแรกที่ผู้เขียนได้รับ พบว่าในเกือบทุกประเภทครูสอนเด็กกลุ่มนี้กลายเป็นบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่ขาด ความเข้าใจจากเพื่อนครูคนอื่น ทำให้หลายคนไม่อยากจะสอนเด็กกลุ่มนี้ เพราะงานมากกว่าคนอื่นแต่ไม่มีใครสนใจ ที่บ้านเราก็มีความหลากหลายในเรื่องประสบการณ์ไม่แพ้ต่างประเทศ แต่อาจเก๋กว่าตรงที่เมื่ออยู่ในเมืองไทย ครูเด็กพิเศษหลายคนต้องเหมาเด็กพิเศษทุกประเภทลูกศิษย์ของผู้เขียนหลาย ๆ คนที่จบการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษประสบปัญหานี้ ต้องไปสอนเด็กหูหนวกบ้าง ตาบอดบ้างและบางรายก็ต้องสอนเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสมองคงพอ ๆ กับให้หมอทำฟันไปรักษากระดูกไหน ๆ ก็เกี่ยวกับกระดูกเหมือนกัน ทั้งที่เป็นคนละเรื่องเดียวกันความจริงงานการสอนเด็กไม่ควรเป็นความแปลกแยก สิ่งที่ทำให้ดูแตกต่างเพราะเกิดไปเกี่ยวข้องกับกลุ่มเด็กที่มีศักยภาพสูง ทำให้เกิดคำถามจากคนรอบข้างว่า “แล้วคนสอนละเป็นปัญญาเลิศหรือเปล่า” ครูหลายคนไม่อยากเป็นเพราะกลัวตามเด็กไม่ทัน และเมื่อทำงานกับเด็กก็รู้สึกว่าไม่พอ เสียหน้าหรือรู้สึกว่าทำหน้าที่ครูได้ไม่ดี เพราะครูควรให้คำอธิบายแก่เด็กได้เสมอ

   แล้วครูสำหรับเด็กกิ๊ฟเต็ดควรเป็นอย่างไร?
                  ครู ของเด็กที่มีความสามารถพิเศษควรต้องมีคุณลักษณะหลายประการที่จะเกี่ยวข้อง ดูแลเด็กกลุ่มนี้ได้ ไม่ใช่ใครก็ได้ที่สามารถสอนเด็กกลุ่มนี้ได้ ก็เหมือนกับทุก ๆ สาขา เช่น ครูสอนคณิตศาสตร์ ก็ต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะที่จะสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้  ครูของเด็กที่มีความสามารถพิเศษมีหลายลักษณะ เช่น ครูเวียนสอน คือ ครูคนเดียวไปสอนหรือทำโครงการร่วมกับโรงเรียนมากกว่าหนึ่งโรง ครูที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะสาขา เช่น โรงเรียนหนึ่งที่โครงการศิลปะโดดเด่นมากระดับชาติ หากเด็กผ่านชั้นพิเศษของโรงเรียนนี้แล้วถือว่าเยี่ยม มหาวิทยาลัยดังรับเข้าเรียนทันที หรือครูที่สอนเฉพาะกลุ่มเด็กที่มีความสามารถพิเศษบางชั่วโมง ครูที่ทำงานบริหารงานด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษแต่ ละลักษณะงานต้องการครูที่ต่างกัน ดังนั้นความสามารถส่วนตน หรือคุณสมบัติเกี่ยวกับบุคลิกภาพของครูเองก็เกี่ยวข้องกับความเหมาะสมของลักษณะงาน  แต่ก็มีคุณสมบัติร่วมบางประการที่เราสามารถใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาตนเองหรือพิจารณาครูที่จะเข้าร่วมโครงการ

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 13 วันที่ 30/01/2557


การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


ดาวซินโดรม
- รักษาตามอาการ
- แก้ไขความผิดปกติร่วมด้วย
- ให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
- เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)

1.ด้านสุขภาพอนามัย

บิดามารดา พาบุตรไปพบแพทย์ ตั้งแต่แรกเริ่ม ติดตามอาการเป็นระยะๆ

2.การส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม

3.การดำรงชีวิตประจำวัน
ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองมากที่สุด

4.การฟื้นฟูสมรรถภาพเด็ก
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะกาดำรงชีวิตประจำวัน
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ

การเลี้ยงดูในช่วง3เดือนแรก
- ยอมรับความจริง
- เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอนเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
- ให้ความรักความอบอุ่น
- ตรวจภายใน หามะเร็งปากมดลูก
- คุมกำเนิด ทำหมัน
- การสอนเพศศึกษา
- ตรวจโรคหัวใจ

การส่งเสริมพัฒนาการ
- พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่นคณิตศาสตร์ ภาษา
- สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
- สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
- ลดปัญหาพฤติกรรม
- คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถแก้ปัญหาและทำงานดีขึ้น

ออทิสติก

ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว
- ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูแลและช่วยเหลือเด็กออทิสติก

ส่งเสริมความสามารถของเด็ก
- การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
- ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
- การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
- เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
- การให้แรงเสริม

การฝึกพูด
-โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อความหมายล่าช้า
-ถ้าเด็กพูดได้เร็ว โอกาสที่เด็กจะมีพัฒนาการด้านภาษาใกล้เคียงเหมือนกับเด็กปกติจะมีเพิ่มมากขึ้น
-ลดภาษาที่ไม่เหมาะสม
-ช่วยลดพฤติกรรมที่ก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อความหมายที่ต้องการได้
-การสื่อความหมายทดแทน (AAC)

การส่งเสริมพัฒนาการ
- ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
- เน้นในเรื่องการมองหน้า การสบตา การมีสมาธิ การฟัง การทำตามคำสั่ง
- ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม

การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
- เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
- แผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล
- โรงเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
- ทักษะในชีวิตประจำวัน และการฝึกทักษะทางสังคม
- ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต็มความสามารถ โดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด

การรักษาด้วยยา
- Metheylphenidate (Ritalin) ช่วยลดอาการไม่นิ่ง/ซน หุนหันพลันแล่น/ขาดสมาธิ
- Risperidone /Haloperidol ช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิด หุนหันพลันแล่น พฤติกรรมซ้ำๆ ก้าวร้าวรุนแรง
- ยาในกลุ่ม Anticonvulsant (ยากันชัก) ใช้ได้ผลกับรายที่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง

การบำบัดทางเลือก

- (AAC) การสื่อความหมายทดแทน
- (Art Therapy) ศิลปกรรมบำบัด
- (Music Therapy)ดนตรีบำบัด
- (Acupuncture) การฝังเข็ม
- (Animal Therapy) การบำบัดด้วยสัตว์

พ่อแม่
- ลูกต้องพัฒนาได้
- เรารักลูกของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร
- ถ้าเราไม่รักแล้วใครจะรัก
- หยุดไม่ได้
- ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้แข็งแรง
- ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
- ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 12 วันที่ 23/01/2557


เด็กออทิสติก

             ความหมายถึงเด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โรคนี้เป็นความผิดปกติในสมองซึ่งมีอาการแสดงและความผิดปกติได้หลายรูปแบบ เด็กจะไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น การพัฒนาด้านภาษาและสติปัญญาก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้เด็กไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กทำบางสิ่งซ้ำๆ

             อาการของเด็กบางคนจะแสดงออกตั้งแต่เกิดแต่ส่วนใหญ่จะแสดงออกเมื่อเด็กอายุ 18-36 เดือนเด็กจะไม่สนใจคนอื่น มีพฤติกรรมแปลกๆ สูญเสียความสามารถทางภาษาและทักษะ ผู้ปกครอง คุณครูรวมทั้งผู้ร่วมงาน ก็มีปัญหากับเด็กที่ไม่สนใจอย่างอื่นนอกจากพฤติกรรมที่ทำซ้ำซาก
Autism คืออะไร 

            โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก
เด็กที่เป็น Autism เด็กปกติ


การสื่อสาร

  • ไม่มองตา 
  • เหมือนคนหูหนวก 
  • เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด 
  • ดูหน้าแม่ 
  • หันไปตามเสียง 
  • เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม 
ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
  • เด็กจะไม่สนใจคนรอบข้าง 
  • ทำร้ายคนโดยไม่มีสาเหตุ 
  • จำคนไม่ได้ 
  • เด็กจะร้องเมื่อออกจากห้อง หรือมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้ 
  • ร้องเมื่อหิวหรือหงุดหงิด 
  • จำหน้าแม่ได้ 
ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
  • นั่งเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง 
  • มีพฤติกรมแปลกๆเช่นนั่งโบกมือ 
  • ดมหรือเลียตุ๊กตา 
  • ไม่รู้สึกเจ็บปวด ชอบทำร้ายตัวเอง 
  • เปลี่ยนของเล่น 
  • การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นการหยิบของ 
  • สำรวจและเล่นตุ๊กตา 
  • ชอบความสุขและกลัวความเจ็บ 
อาการทางสังคม
         เมื่อยังเป็นเด็กจะมีการพัฒนาพฤติกรรมปกติกล่าวคือเด็กจะจ้องมองหน้าและตา หันไปตามเสียงหรือแสง จับนิ้วมือ ยิ้ม เด็กที่เป็น autism จะไม่สบตาพ่อแม่มักจะชอบอยู่คนเดียว เด็กไม่ชอบการกอดรัด เด็กจะเหมือนหุ่นไม่แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ ไม่ร้องไห้เมื่อแม่ออกนอกห้อง ไม่ดีใจเมื่อแม่กลับเข้ามาเด็กจะมีปัญหาการเรียนรู้ เด็กจะไม่รู้ความหมายของการยิ้ม ไม่เข้าใจภาษาทางร่างกาย
       
ความสามารถพิเศษ
    เด็ก autism บางคนมีความสามารถพิเศษหลายอย่างเช่น การวาดรูป ความจำ การเล่นดนตรี

การพัฒนาของเด็กปกติ
    การที่จะรู้ว่าเด็กมีพฤติกรรมผิดปกติต้องรู้พฤติกรรมปกติของเด็ก

การวินิจฉัย
    ปัจจุบันยังไม่การตรวจด้วยการเจาะเลือดหรือการ x-ray เพื่อวินิจฉัยโรคออทิสติก ผู้ป่วยออทิสติกแต่ละคนก็แสดงอาการไม่เหมือนกัน นอกจากนั้นอาการหลายอย่างที่พบในโรคอื่น ดังนั้นพ่อแม่ ครูและแพทย์จะต้องร่วมมือในการวินิจฉัยแยกโรค เช่นหูหนวก ปัญญาอ่อน มีปัญหาในการพูด และโรคทางสมอง หากไม่มีโรคดังกล่าวจึงส่งไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญทาง autism เกณฑ์การวินิจฉัยโรค autism  มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับสังคม มีปัญหาเรื่องการสื่อสารหรือภาษา มีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ เด็กที่เป็น autism มักจะมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง บางอาการเป็นมาก บางอาการเป็นน้อยและอาการต้องเกิดที่อายุ 3 ขวบ

สาเหตุของ Autism
         สมองของคนเราเริ่มสร้างและพัฒนาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งเกิด โดยแต่ละส่วนของสมองจะมีเซลล์ประสาท neuron ที่ทำหน้าที่พิเศษไปฝังตัว หลังจากนั้นเซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวมากขึ้น และมีใยประสาท fibers เป็นตัวเชื่อมเซลล์ประสาท สมองจะสั่งงานโดยการหลังสาร neurotransmitters ที่รอยต่อของเซลล์ประสาท


สมองส่วนหน้า frontal lobe จะทำหน้าที่แก้ปัญหา การวางแผน การเข้าใจพฤติกรรมของผู้อื่น
สมองส่วนข้าง parietal lobe ทำหน้าที่การได้ยิน การพูด การสื่อสาร
สมองน้อย cerebellum ทำหน้าที่การทรงตัว การเคลื่อนไหวของร่างกาย
สมองส่วน corpus callossum เป็นตัวเชื่อมสมองทั้งสองข้าง
หลังจากที่เด็กเกิดสมองยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสาเหตุที่อาจจะเป็นไปได้คือ
การที่เซลล์ประสาทไปอยู่ผิดที่ ทำให้การทำงานของสมองผิดปกติ
การหลั่ง neurotransmitters ผิดปกติ 

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของสมอง พันธุกรรม พบว่าฝาแผดไข่ใบเดียวกัน หากมีคนหนึ่งเป็นอีกคนหนึ่งจะมีโอกาสสูง หากมีพี่นอนคนหนึ่งเป็นน้องก็มีความเสี่ยงสูง ขณะตั้งครรภ์ ขณะเป็นตัวอ่อนในครรภ์สมองเด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากมีสิ่งมากระทบสมองเด็กโดยเฉพาะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ตัวอย่างภาวะดังกล่าวได้แก่ การติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน การขาด oxygen ขณะคลอด โรคที่พบร่วมกับ Autism 


ปัญญาอ่อน Mental retard ประมาณร้อยละ 75-80 ของเด็กจะมีลักษณะปัญญาอ่อนไม่มากก็น้อย ร้อยละ 15-20จะปัญญาอ่อนค่อนข้างมาก โดยมีIQ น้อยกว่า 35 จะมีอยู่ประมาณร้อยละ 10ที่มีระดับ IQ ปกติ 

โรคลมชัก Seizure ประมาณ1ใน3จะมีการชัก
ยาที่ใช้รักษาโรค Autism

ยังไม่มียาที่จะไปเปลี่ยนเซลล์ neuron หรือการทำงานของสมอง และยังไม่มียาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนว่าเป็นยารักษา autism ยาที่ใช้รักษาเป็นยาโรคอื่นที่มีอาการใกล้เคียง

เด็ก autism บางคนเป็นโรคสมาธิสั้นร่วมด้วยการให้ยา Ritalin ก็สามารถให้ผลดี

Chlorpromazine, theoridazine, และ haloperidol เป็นยาที่รักษาผู้ป่วยจิตเวชก็สามารถลดอาการพฤติกรรมทำซ้ำๆ ลดการกระวนกระวาย

วิตามิน บี 6 มีรายงานว่าทำให้การทำสมองทำงานได้ดีขึ้นแต่ยังอยู่ระหว่างการทดลอง
การเข้าสังคมและพฤติกรรม


การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
        โดยอาศัยหลักว่าเมื่อทำถูกต้องหรือทำดีต้องให้รางวัล เมื่อเด็กได้สามารถพัฒนาทักษะใหม่ต้องให้รางวัลแก่เด็ก เด็กก็จะทำสิ่งนั้นซ้ำจนเกิดความชำนาญ เช่นเมื่อเด็กเริ่มมองหน้าพ่อแม่หรือครูก็จะให้รางวัล วิธีการฝึกเช่นให้เด็กนั่งเก้าอี้ ถ้าเด็กไม่นั่งก็จับเด็กนั่งแล้วรีบให้รางวัล อาจจะเป็นขนมหรือคำชมที่เด็กชอบ ทำซ้ำๆกันจนเด็กสามารถทำตามคำสั่งได้และนั่งนานพอควรจึงเปลี่ยนไปบทอื่น การใช้วิธีนี้จะได้ผลดีเมื่อทำตอนเด็กอายุน้อยๆ


สะท้อนการเรียนรู้
         จากเรียนในสัปดาห์ อาจารย์ให้เพื่อนกลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอจากสัปดาห์ที่แล้วออกมานำเสนอ ในเรื่องของเด็กออทิสติก ทำให้ราได้รู้และเข้าใจถึงเด็กออทิสติกมากขึ้น ว่าเด็กออทิสติกมีลักษณะเป็นอย่างไร และมีสาเหตุอย่างไร  ทำให้เราสามารถรู้และเข้าใจในตัวของเด็กมากขึ้น เด็กออทิสติกจะมีความสามารถพิเศษเป็นของตนเอง แล้วแต่ว่าคนใดจะมีความสามารถในเรื่องใด ทำให้เราได้เข้าใจในตัวของเด็ก ว่าที่เด็กมีลักษณะแบบนี้เป็นเพราะเค้าเป็นอะไร และพร้อมที่จะเข้าใจช่วยเหลือเด็กให้เด็กมีวามเป็นปกติมากที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 11 วันที่ 16/01/2557


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองไม่สงบ

อาจารย์ได้สั่งงานวิจัย โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้

                       1.ชื่องานวิจัย/ชื่อผู้วิจัย/มหาวิทยาลัย
                       2.ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
                       3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย
                       4.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
                       5.นิยามศัพท์เฉพาะ
                       6.ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
                       7.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                       8.การดำเนินการวิจัย
                       9.สรุปผลการวิจัย
                      10.ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่องานวิจัยชิ้นนี้


วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 10 วันที่ 09/01/2557

นำเสนองานกลุ่มเกี่ยวกับด็กพิเศษ จำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้ คือ

กลุ่มที่ 1 เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disorders – LD)
          LD คืออะไร?
• ความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ ที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ความสัมฤทธิ์ผลด้านการเรียนต่ำกว่าความเป็นจริง
• ความบกพร่องนี้อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้าน ใดด้านหนึ่ง เช่น การอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณ หรือหลายๆด้านร่วมกัน


กลุ่มที่ 2 เด็กสมองพิการ (Cerebral Palsy)
          หรือคำย่อที่นิยมเรียก คือ ซี พี (C.P.) ไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะ แต่เป็นคำรวมของกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรของสมอง ความพิการนี้จะคงที่และไม่ลุกลามต่อไป ซึ่งมีผลให้การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและการทรงท่าที่ผิดปกติ เช่น การเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา การทรงตัว การทรงท่าในขณะนั่ง ยืน เดิน ผิดปกติหรืออาจเดินไม่ได้ นอกจากนี้ อาจมีความผิดปกติในการทำงานของสมองด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีความบกพร่องในการมองเห็น ได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา และโรคลมชัก เป็นต้น

กลุ่มที่ 3 เด็กสมาธิสั้น Attention Deficit Hyperactivity Disorders (ADHD)
         เป็นความผิดปกติด้านพฤติกรรม เกิดจากการทำงานที่ไม่เหมาะสมของสมอง โดยเฉพาะสมอส่วน ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสมาธิ ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันกับระบบสั่งงานอื่นๆ ผู้ที่มีภาวะสมาธิสั้นคือผู้ที่มีความบกพร่องในเรื่องสมาธิ และการควบคุมการกระทำของตนเองในการเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในครร

กลุ่มที่ 4 เด็กกลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome)
       เป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน และตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตัวค่อนข้างเตี้ย มือสั้น มักมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด และภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่องและปัญหาหลักคือ ภาวะปัญญาอ่อนสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดก็คือ การมีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือ โครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง แทนที่จะมี 2 แท่ง ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า TRISOMY 21 มีมากถึง 95% สาเหตุรองลงมาเรียกว่า TRANSLOCATION คือมีโครโมโซมย้ายที่ เช่น โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 เป็นต้น พบได้ 4% ส่วนสาเหตุที่พบได้น้อยที่สุดคือมีโครโมโซมทั้ง 46 และ 47 แท่งในคนๆ เดียว พบได้เพียง 1% เท่านั้นเรียกว่า MOSAIC

ตารางการทดสอบ Gesell drawing test 


ซึ่งเป็นความสามารถด้านกล้ามเนื้อมือ และการประสานงานของตากับมือ
ตามระดับอายุที่ควรจะเป็น

รูปที่ 1 ....เป็นความสามารถของเด็ก 2 ปี
รูปที่ 2 ....เป็นความสามารถของเด็ก 3 ปี
รูปที่ 3 ....เป็นความสามารถของเด็ก 3 ปีครึ่ง
รูปที่ 4 ....เป็นความสามารถของเด็ก 4 ปี

รูปที่ 5 ....เป็นความสามารถของเด็ก 5 ปี
รูปที่ 6 ....เป็นความสามารถของเด็ก 6 ปี
รูปที่ 7 ....เป็นความสามารถของเด็ก 7 ปี
รูปที่ 8 ....เป็นความสามารถของเด็ก 8 ปี

รูปที่ 9 ....เป็นความสามารถของเด็ก 9 ปี
รูปที่ 10 ...เป็นความสามารถของเด็ก 11 ปี
รูปที่ 11....เป็นความสามารถของเด็ก 12 ปี

แนวทางการดูแลรักษา
          - หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
          - การค้นหาความผิดปกติร่วม
          - การรักษาสาเหตุโดยตรง
          - การส่งเสริมพัฒนาการ
          - ให้คำปรึกษากับครอบครัว

ขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
         - ตรวจคัดกรองพัฒนาการ
         - การตรวจประเมินพัฒนาการ
         - การให้การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
         - การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
         - การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ


สะท้อนการเรียนรู้
         จากการเรียนในวันนี้ทำให้เราได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากการที่เพื่อนนำงานมานำเสนอหน้าชั้นเรียน มากขึ้นและยังได้ร่วมกิจกรรมที่สนุกสนานอีกด้วย และความรู้ที่ได้รับในวันนี้ เรื่องของตารางทดสอบ Gesell drawing test  เราก็สามารถนำการวาดรูปจากตารางนี้ไปทดสอบใช้กับเด็กด้ เพื่อดูระดับสติปัญญาของเด็กกับอายุของเด็ก ว่ามีพัฒนาการที่เหมาะสมหรือไหม เพื่อที่จะนำมาศึกษา และช่วยพัฒนาการของเด็กให้ดีขึ้นไป

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 9 วันที่ 02/01/2557



ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันขึ้นปีใหม่




 ปีใหม่ หรือ วันขึ้นปีใหม่ 2557 หรือ ปีใหม่ภาษาอังกฤษ Happy New Year 2014 ใกล้ มาถึงแล้ว วันขึ้นปีใหม่ หลาย ๆ คนคงชอบที่จะได้หยุดหลาย ๆ วัน ว่าแต่ที่หยุดและฉลองปีใหม่กันอยู่ทุกปี แล้วรู้หรือไม่ว่า ประวัติปีใหม่ หรือ วันขึ้นปีใหม่ มีความเป็นมาอย่างไร วันนี้เรามี ความหมายวันขึ้นปีใหม่ ประวัติวันขึ้นปีใหม่ มาฝาก  

ความหมายของวันขึ้นปีใหม่

          วันขึ้นปีใหม่ ตามความหมายในพจนานุกรมให้ความหมายคำว่า "ปี" หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน หรือ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ ดังนั้น "ปีใหม่" จึงหมายถึง การขึ้นรอบใหม่หลังจาก 12 เดือน หรือ 1 ปี

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่

          วันขึ้นปีใหม่ มี ประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยตามความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนีย เริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทินโดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก ๆ 4 ปี

           ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำการปฏิบัติของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไขอีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับ ฤดูกาลมากยิ่งขึ้น จนถึงสมัยของ กษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ (ประมาณ 46 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อโยซิเยนิส มาปรับปรุงให้หนึ่งปีมี 365 วัน โดยทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน เมื่อเพิ่มให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ให้ทุกๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

           และในวันที่ 21 มีนาคม ตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตามทิศตะวันตก วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมงเท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March) 

          แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดัง นั้นพระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วัน จากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (ใช้เฉพาะในปี พ.ศ. 2125) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่าปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้ วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

ความเป็นมาวันปีใหม่ในประเทศไทย

          สำหรับวันปีใหม่ในประเทศไทยนั้น แต่ เดิมเราถือเอาวันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย ซึ่งตรงกับเดือนมกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพระพุทธศาสนา ที่ถือช่วงเหมันต์หรือหน้าหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ คือถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ ดังนั้นในสมัยโบราณเราจึงถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย

           แต่การนับวันปีใหม่หรือวันสงกรานต์ตามวันทางจันทรคติ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติ ย่อมคลาดเคลื่อนกันไปในแต่ละปี ดังนั้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปี พ.ศ.2432 (ร.ศ.108) ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน พระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยนับแต่นั้นมา เพื่อวันปีใหม่จะได้ตรงกันทุกปีเมื่อนับทางสุริยคติ (แม้ว่าวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีต่อๆ มาจะไม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน แล้วก็ตาม) ดังนั้นจึงถือเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปีนับแต่นั้นมา  อย่างไรก็ดีประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่

           ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการจึงเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน มักจะไม่มีงานรื่นเริงอะไรมากนักและเห็นสมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก จนแพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อ ๆ มา โดยในปี พ.ศ. 2479 ก็ได้มีการจัดงานปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด มีชื่อทางราชการ "วันตรุษสงกรานต์"





เหตุผลเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จาก 1 เมษายน เป็น 1 มกราคม

           ต่อมาก็ได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาโดยมี หลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานคณะกรรมการ และที่ประชุมก็ ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ในวันที่ 24 ธันวาคม ในสมัยคณะรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยเหตุผลสำคัญก็คือ
  • เป็นการไม่ขัดกับหลักพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
  •  เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมศาสนาพุทธ
  • ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
  •  เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
              ตั้งแต่นั้นมา วันขึ้นปีใหม่ของไทยจึงตรงกับวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เหมือนดังเช่นวันขึ้นปีใหม่ของประเทศอื่นๆ ทั่วโลก


เพลงวันปีใหม่

           แน่นอนว่า เพลงที่มักจะได้ยินบ่อย ๆ ในช่วงวันขึ้นปีใหม่ ก็คือ "เพลงพรปีใหม่" ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ.2494 เมื่อครั้งเสด็จนิวัตพระนครและประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต โดยมีพระราชประสงค์ให้เพลงนี้ เป็นพรปีใหม่ที่พระราชทานแก่พสกนิกรทุกหมู่เหล่า

           ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทยเป็นครั้งแรกในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495 โดยเพลงพรปีใหม่ มีเนื้อร้องดังนี้


          เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)
          
                ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
                คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

                สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
                ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
                ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
                โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย

                ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
                ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
                ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
                ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ



ประวัติการส่ง ส.ค.ส. ในวันปีใหม่

           การส่ง ส.ค.ส หรือบัตรอวยพรนั้น ประเทศไทยรับวัฒนธรรมมาจากต่างประเทศ ซึ่งนิยมส่งบัตรอวยพรกันมาเป็นเวลากว่า 200 ปีแล้ว ตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 18 หรือตรงกับปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา บัตรอวยพรนี้ปรากฎในรูปแบบ "บัตรเยี่ยม" (Visiting Card) เป็นบัตรกระดาษขนาดเท่าไพ่ นิยมเขียนข้อความ หรือพิมพ์รูปภาพต่าง ๆ ลงไปเพื่อเยี่ยมเยียนกันในวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาแพร่หลายไปในเทศกาลต่าง ๆ เช่น วาเลนไทน์ คริสต์มาส มีการส่งพิมพ์และส่งบัตรอวยพรกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น

          สำหรับในประเทศไทยนั้น เชื่อกันว่าบัตรอวยพรปีใหม่ที่เก่าแก่ที่สุด คือ บัตรอวยพรที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์ขึ้น เมื่อ 120 กว่าปีก่อน โดยในรัชสมัยของพระองค์ เป็นยุคที่มีการติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จึงมีการรับเอาขนบธรรมเนียมของตะวันตกมาด้วย

           ทั้งนี้การส่งบัตรอวยพรของพระองค์นั้น ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ได้ปรากฎสำเนาคำพระราชทานพรขึ้นปีใหม่ ในปี พ.ศ.2409 ของพระองค์ ในหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์ดเดอร์ (ภาษาอังกฤษ) ฉบับวันที่ 13 มกราคม 2409 แปลได้ใจความว่า "ทรงขอส่งบัตรตีพิมพ์คำอวยพรนี้ถึงบรรดากงสุล เจ้าหน้าที่กงสุลต่าง ๆ และชาวต่างประเทศที่ทรงคุ้นเคยโดยทั่วถึงกัน"

           ต่อมาในช่วงต้นรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ความนิยมการส่งบัตรอวยพรแพร่หลายอย่างมาก มีหลักฐานบัตรอวยพรประเภทต่างๆ ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเป็นจำนวนมาก โดยมักนิยมส่งกันในช่วงเดือนเมษายน ตามวันขึ้นปีใหม่เดิมที่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน และบนบัตรอวยพรเหล่านั้น ยังพบคำว่า "ส.ค.ศ" หรือ "ส.ค.ส" ปรากฎอยู่ จึงเชื่อกันว่า คำว่า "ส.ค.ส" เกิดขึ้นในรัชสมัยนี้ โดยย่อมาจากคำว่า "ส่งความศุข" หรือ "ส่งความสุข"

           หลังจากนั้น ส.ค.ส ก็เป็นสิ่งที่นิยมส่งให้กันในวันขึ้นปีใหม่ จนถึงปัจจุบันนี้ และ ส.ค.ส. ก็ได้เปลี่ยนรูปแบบไปมีการนำวัสดุต่าง ๆ มาประดิษฐ์ ตกแต่ง มีรูปแบบ ลวดลายหลากหลายมากขึ้น
            


ส.ค.ส พระราชทาน

           ทุก ๆ ปี พสกนิกรจะเฝ้ารอการพระราชทานพรปีใหม่ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ผ่าน ส.ค.ส พระราชทานซึ่ง ส.ค.ส พระราชทานนี้ พระองค์จะทรงประดิษฐ์ขึ้นเอง เพื่อพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ โดยปีแรก ที่พระองค์พระราชทาน ส.ค.ส คือ ปี ส.ค.ส พระราชทานสำหรับปี พ.ศ.2530 โดยทรงพิมพ์ออกจากคอมพิวเตอร์ และแฟกซ์พระราชทานให้แก่หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ผู้ทำงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท โดยทรงใช้รหัสแทนพระองค์ว่า กส. 9 เช่นเดียวกับที่ทรงใช้ติดต่อทางวิทยุสื่อสาร



ส.ค.ส.พระราชทาน ปี พ.ศ.2530



          นับแต่นั้นมา พระองค์ได้พระราชทาน ส.ค.ส ทุกปี และหนังสือพิมพ์ได้นำ ส.ค.ส พระราชทานไปตีพิมพ์ เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชน ส.ค.ส พระราชทานนั้นได้ยกเว้นไปในปีใหม่ พ.ศ. 2548 ที่พระองค์ไม่ได้พระราชทาน ส.ค.ส เนื่องจากในช่วงปลายปี 2547 ได้เกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิซัดเข้าชายฝั่งทะเลอันดามันอย่างรุนแรง พระองค์จึงทรงงานหนัก เพื่อช่วยเหลือพสกนิกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ได้มีรับสั่งพระราชทานแทน

         ใน ส่วนของข้อความที่ปรากฎบน ส.ค.ส. พระราชทานนั้น ล้วนสอดคล้องเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์บ้านเมืองในปีนั้นๆ และแม้จะเป็นเพียง ถ้อยคำสั้น ๆ แต่ก็แฝงไปด้วยข้อคิด และคติเตือนใจที่ส่งผ่านไปยังปวงชนชาวไทยทุกคน  





    ส.ค.ส.พระราชทาน ปี พ.ศ.2547

           สำหรับรูปแบบของ ส.ค.ส พระราชทานนั้น ในยุคแรกเป็น ส.ค.ส.ไม่มีลวดลาย สีขาวดำ มีข้อความปรากฎสั้น ๆ ต่อมาจนถึงปี พ.ศ.2532 เริ่มมีลวดลายประดับประดา ส.ค.ส.มากขึ้น จนถึงในปี พ.ศ.2549 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นภาพสี                
 


ส.ค.ส พระราชทานปีล่าสุด 2554
           ส.ค.ส.พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปีพุทธศักราช 2554 นี้ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์สากลสีครีมผ้าปักพระกระเป๋าเป็นผ้าลายริ้วสีเหลืองสลับเทา ฉลองพระองค์ชั้นในเป็นเชิ้ตขาว ทรงผูกเนกไทลายริ้วสีเหลืองสลับเทา ประทับบนพระเก้าอี้ ด้านข้าง พระเก้าอี้ที่ประทับทั้งสองข้างมีโต๊ะสูง โต๊ะด้านซ้ายวางแจกันแก้วก้านสูงปักดอกไม้หลากสี โต๊ะด้านขวาวางแจกันแก้วขนาดเล็กปักดอกไม้หลากสีเช่นกัน ทรงฉายกับสุนัขทรงเลี้ยง 2 สุนัข คือ คุณทองแดงที่ทรงเลี้ยงมาตั้งแต่ปี 2541 หมอบอยู่หน้าพระเก้าอี้ด้านขวาและคุณทองแท้ที่ทรงเลี้ยงมาตั้งแต่ปี 2542 หมอบอยู่หน้าพระเก้าอี้ด้านซ้าย

            ด้านหลังพระเก้าอี้ที่ประทับเป็นผ้าม่านสีเทาอ่อน มีแจกันดอกไม้ขนาดใหญ่ปักดอกกุหลาบและดอกไฮเดรนเยียหลากสีตั้งอยู่ 2 แจกัน แจกัน ด้านซ้ายมีตราพระมหาพิชัยมงกุฎประดับอยู่ ส่วนแจกันด้านขวามีผอบทองประดับอยู่ ถัดไปทางด้านหลังทั้งสองด้านมีกระถางไม้ประดับตั้งอยู่

           มุมบนด้านซ้ายมีตัวอักษรสีเหลือง ข้อความว่า ส.ค.ส.สวัสดีปีใหม่ 2554 มุมบนด้านขวามีข้อความภาษาอังกฤษ Happy New Year 2011

            ด้านล่างของ ส.ค.ส. มีข้อความเป็นตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีน้ำเงินว่า ขอจงมีความสุข ความเจริญ มุมล่างขวา มีข้อความ ก.ส.9 ปรุง 121923 ธ.ค.53 พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad publishing, D Bramaputra, Publisher กรอบของ ส.ค.ส.พระราชทานฉบับนี้เป็นภาพใบหน้าคนเล็กๆเรียงกันด้านละ 3 แถว ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้ม 



กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่

          กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ คือ
  •  เก็บกวาดทำความสะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
  • ทำบุญตักบาตร กรวดนำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติและผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว
  • ไปวัดเพื่อทำบุญ ถือศีล ปฏิบัติธรรม หรือฟังพระธรรมเทศนา ฯลฯ เพื่อให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสเบิกบาน ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่
  •  ไปกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง ด้วยการมอบของขวัญ ช่อดอกไม้ หรือการ์ดอวยพร
  • ตรวจ สอบตัวเองเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ทำมาตลอดปี ว่ามีความเจริญก้าวหน้าสำเร็จลุล่วงไปได้แค่ไหน หากมีสิ่งใดคั่งค้างก็ต้องเร่งขวนขวายปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของตน ถ้าอยู่ในเกณฑ์ดีก็ให้ตั้งใจทำให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป และควรให้อภัยกับผู้ที่มีเรื่องบาดหมางหรือขุ่นเคืองกัน เพื่อสานความสัมพันธ์ให้กลับมาเริ่มต้นใหม่ด้วยดี
  • จัดงานรื่นเริงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง หรือสถานที่ต่าง ๆ
  • จัดกิจกรรมร่วมนับถอยหลัง เพื่อก้าวสู่วันใหม่
  • จัดกิจกรรมการกุศลตามสถานที่ต่าง ๆ