วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 6 วันที่ 12/12/2556

พัฒนาการของเด็กพิเศษ

การเปลี่ยนแปลงหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาขึ้น
เด็กที่บกพร่องทางพัฒนาการ


- เด็กที่มีพัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
- พัฒนาการล่าช้าอาจพบในด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้านหรือทุกด้าน
- พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้


ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก

- ปัจจัยทางด้านชีววิทยา = พันธุกรรม, โครโมโซม
- ปัจจัยสภาพแวดล้อมก่อนคลอด = อาหารที่รับประทาน, การดูแลครรภ์
-ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด = ความสะพร่าวของหมอ
- ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด = นม, การดุแล


สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ

1. โรคทางพันธุกรรม เป็นตั้งแต่เกิด เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้าตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย  เช่น ผิวเผือก เท้าแสนปม

2. โรคของระบบประสาท

  •  เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วยที่  พบบ่อยคือ อาการชัก
3. การติดเชื้อ
  • การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศรีษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง เป็นต้อกระจก นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ
4. ความผิดปกติที่เกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
  • โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณะสุขไทย คือ ไทรรอยด์ฮอร์โมนในเลืดต่ำ
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
  • การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยและภาวะขาดออกซิเจน
6. สารเคมี 
  • ตะกั่วมีผลกระทบต่อตัวเด็ก และการศึกษามากที่สุด
  • มีอาการซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ
  • ภาวะตับเป็นพิษ
  • ระดับสติปัญญาต่ำ


ผลจากแอลกอฮอร์
  • น้ำหนักแรกเกิดน้อย
  • มีอัตราเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก
  • พัฒนาการทางสติปัญญามีความบกพร่อง
  • เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
ผลจากแอลกอฮอร์

Fetal alcohol syndrome, EAS
  • ช่องสายตาสั้น
  • ริมฝีปากบนเรียบ
  • ริมฝีปากบนยาวและบาง
  • หนังคลุมหัวตามาก
  • จมูกแบน
  • ปลายจมูกเชิดขึ้น



นิโครติน
  • น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
  • เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก
  • สติปัญญาบกพร่อง
  • สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาด้านการเข้าสังคม
นิโคติน
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการขาดสารอาหาร
        อาการของเด็กที่มีบกพร่องทางพัฒนาการ

  • มีพัฒนาการล่าช้าอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
  • ปฏิกิริยาสะท้อน (Primitive reflex) ไม่หายไป

แนวทางในการวินิจฉัยเด็กที่บกพร่องทางพัฒนาการ 

  • 1. การซักประวัติ
  • โรคประจำตัว
  • การเจ็บป่วยในครอบครัว
  • ประวัติฝากครรภ์
  • ประวัติเกี่ยวกับการคลอด
  • พัฒนาการที่ผ่านมา 
  • การเล่นตามวัย การช่วยเหลือตนเอง
  • ปัญหาพฤติกรรม
  • ประวัติอื่นๆ 

เมื่อซักประวัติแล้วจะสามารถบอกได้ว่า
  • ลักษณะพัฒนาการล่าช้าเป็นแบบคงที่ หรือถดถอย
  • เด็กมีระดับพัฒนาการช้าหรือไม่ อย่างไรอยู่ในระดับไหน
  • มีข้อบ่งชี้ว่ามีสาเหตุมาจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
  • สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดอะไร
  • ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร
          2. การตรวจร่างกาย
  • ตรวจร่างกายทั่วไปและการเจริญเติบโต
  • ภาวะตับม้ามโต
  • ผิวหนัง
  • ระบบประสาทและวัดรอบศีรษะด้วยเสมอ
  • ดูลักษณะของเด็กที่ทารุณกรรม
  • ระบบการมองเห็นและการได้ยิน
         3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัตการ
         4. ประเมินพัฒนาการ
  • การประเมินแบบไม่เป็นทางการ (การสอบถามจากพ่อแม่)
การประเมินที่ใช้ในชีวิตประวัติ
  • แบบทดสอบ Denver ll
  • Gesell Drawing Test 
  • แบบประเมินพัฒนาการถามเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี สถาบันราชานุกูล
แนวทางในการดูแลรักษา
  1.  หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
  2. การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
  3. การรักษาสาเหตุโดยตรง
  4. การส่งเสริมพัฒนาการ
  5. ให้คำปรึกษากับครอบครัว
ขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  1.  การตรวจคัดกรองพัฒนาการ
  2. การตรวจประเมินพัฒนาการ
  3. การให้การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
  4. การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
  5. การติดตาม และประเมินผลการรักษาเป็นระย


สะท้อนการเรียนรู้
                จากการเรียนในสัปดาห์ ทำให้เราได้เข้าใจถึงพัฒนาการต่างๆของเด็กพิเศษ  ว่าเค้ามีพัฒนาการในลักษณะใด เกิดจากปัจจัย หรือมีสาเหตุอะไรบ้าง รวมถึงผลเสียต่างๆ ที่ได้รับจากมารดา และส่งผลไปยังลูก ในขณะตั้งครรถ์ เด็กพิเศษ อาการของเด็กพิเศษเกิดขึ้นได้ไม่ว่า จะก่อน หลัง หรือ ระหว่างตั้งครรถ์  และทำให้เราได้เข้าใจถึงแนวทางในการปฎิบัติ แนวทางการดูแล เราควรที่จะดูแลเด็กพิเศษเหล่านี้อย่างไร เพื่อที่จะให้เค้ามีพัฒนาการที่ดีขึ้น และใกล้เคียงกับเด็กปกติมากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น