วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 10 วันที่ 09/01/2557

นำเสนองานกลุ่มเกี่ยวกับด็กพิเศษ จำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้ คือ

กลุ่มที่ 1 เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disorders – LD)
          LD คืออะไร?
• ความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ ที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ความสัมฤทธิ์ผลด้านการเรียนต่ำกว่าความเป็นจริง
• ความบกพร่องนี้อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้าน ใดด้านหนึ่ง เช่น การอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณ หรือหลายๆด้านร่วมกัน


กลุ่มที่ 2 เด็กสมองพิการ (Cerebral Palsy)
          หรือคำย่อที่นิยมเรียก คือ ซี พี (C.P.) ไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะ แต่เป็นคำรวมของกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรของสมอง ความพิการนี้จะคงที่และไม่ลุกลามต่อไป ซึ่งมีผลให้การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและการทรงท่าที่ผิดปกติ เช่น การเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา การทรงตัว การทรงท่าในขณะนั่ง ยืน เดิน ผิดปกติหรืออาจเดินไม่ได้ นอกจากนี้ อาจมีความผิดปกติในการทำงานของสมองด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีความบกพร่องในการมองเห็น ได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา และโรคลมชัก เป็นต้น

กลุ่มที่ 3 เด็กสมาธิสั้น Attention Deficit Hyperactivity Disorders (ADHD)
         เป็นความผิดปกติด้านพฤติกรรม เกิดจากการทำงานที่ไม่เหมาะสมของสมอง โดยเฉพาะสมอส่วน ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสมาธิ ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันกับระบบสั่งงานอื่นๆ ผู้ที่มีภาวะสมาธิสั้นคือผู้ที่มีความบกพร่องในเรื่องสมาธิ และการควบคุมการกระทำของตนเองในการเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในครร

กลุ่มที่ 4 เด็กกลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome)
       เป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน และตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตัวค่อนข้างเตี้ย มือสั้น มักมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด และภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่องและปัญหาหลักคือ ภาวะปัญญาอ่อนสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดก็คือ การมีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือ โครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง แทนที่จะมี 2 แท่ง ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า TRISOMY 21 มีมากถึง 95% สาเหตุรองลงมาเรียกว่า TRANSLOCATION คือมีโครโมโซมย้ายที่ เช่น โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 เป็นต้น พบได้ 4% ส่วนสาเหตุที่พบได้น้อยที่สุดคือมีโครโมโซมทั้ง 46 และ 47 แท่งในคนๆ เดียว พบได้เพียง 1% เท่านั้นเรียกว่า MOSAIC

ตารางการทดสอบ Gesell drawing test 


ซึ่งเป็นความสามารถด้านกล้ามเนื้อมือ และการประสานงานของตากับมือ
ตามระดับอายุที่ควรจะเป็น

รูปที่ 1 ....เป็นความสามารถของเด็ก 2 ปี
รูปที่ 2 ....เป็นความสามารถของเด็ก 3 ปี
รูปที่ 3 ....เป็นความสามารถของเด็ก 3 ปีครึ่ง
รูปที่ 4 ....เป็นความสามารถของเด็ก 4 ปี

รูปที่ 5 ....เป็นความสามารถของเด็ก 5 ปี
รูปที่ 6 ....เป็นความสามารถของเด็ก 6 ปี
รูปที่ 7 ....เป็นความสามารถของเด็ก 7 ปี
รูปที่ 8 ....เป็นความสามารถของเด็ก 8 ปี

รูปที่ 9 ....เป็นความสามารถของเด็ก 9 ปี
รูปที่ 10 ...เป็นความสามารถของเด็ก 11 ปี
รูปที่ 11....เป็นความสามารถของเด็ก 12 ปี

แนวทางการดูแลรักษา
          - หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
          - การค้นหาความผิดปกติร่วม
          - การรักษาสาเหตุโดยตรง
          - การส่งเสริมพัฒนาการ
          - ให้คำปรึกษากับครอบครัว

ขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
         - ตรวจคัดกรองพัฒนาการ
         - การตรวจประเมินพัฒนาการ
         - การให้การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
         - การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
         - การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ


สะท้อนการเรียนรู้
         จากการเรียนในวันนี้ทำให้เราได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากการที่เพื่อนนำงานมานำเสนอหน้าชั้นเรียน มากขึ้นและยังได้ร่วมกิจกรรมที่สนุกสนานอีกด้วย และความรู้ที่ได้รับในวันนี้ เรื่องของตารางทดสอบ Gesell drawing test  เราก็สามารถนำการวาดรูปจากตารางนี้ไปทดสอบใช้กับเด็กด้ เพื่อดูระดับสติปัญญาของเด็กกับอายุของเด็ก ว่ามีพัฒนาการที่เหมาะสมหรือไหม เพื่อที่จะนำมาศึกษา และช่วยพัฒนาการของเด็กให้ดีขึ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น